0
เขียนจีนให้เป็นไทย
ตัวตน "ไทย-จีน" ที่เพิ่งสร้าง กับ การเมือง/การทูตวิชาการ ในสังคมศาสตร์สงครามเย็น
หนังสือ399.00 บาท
e-books(PDF) ?349.00 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    "คนจีน" วัตถุศึกษาสำคัญของสังคมศาสตร์อเมริกันในการทำความเข้าใจสังคมไทย เพื่อเปิดทางให้สหรัฐอเมริกาแผ่อิทธิพลและเตรียมป้องกันภัยคอมมิวนิสต์ที่กำลังคืบคลานสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงต้นสงครามเย็น งานศึกษาของนักวิชาการอเมริกันที่เข้ามาศึกษาในไทยจำนวนมากได้กลายเป็นฐานคิดให้แก่วงการวิชาการไทยในเวลาต่อมา ทว่าการก่อตัวของ "ชาตินิยมวิชาการ" ได้สร้างรอยแยกระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา เกิดการศึกษาสวนกลับคำอธิบายเดิม ๆ ของอเมริกันภายใต้บรรยากาศชาตินิยม โดยเฉพาะการศึกษาคนจีน

    ความเปลี่ยนแปลงหลายด้านทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน มีส่วนในการเริ่มจัดวางตำแหน่ง "คนจีน" ใหม่ในประวัติศาสตร์และสังคมไทย "เจ๊ก"  "คนไทยเชื้อสายจีน" ที่เป็นมิตรกับประเทศ ห่างไกลจากลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ถือกำเนิดขึ้น และถมช่องว่างที่เคยแยกคนจีนออกจากความเป็นไทยของสังคมศาสตร์อเมริกัน และดูจะเป็นคำอธิบายที่แข็งแกร่งขึ้นยิ่งกว่างานศึกษาของอเมริกันในยุคสงครามเย็น

สารบัญ

1. นวภูมิทัศน์วิชาการ : สังคมศาสตร์สงครามเย็น ไทยศึกษา และคนจีน
2. การเดินทางของ จี.วิลเลียม สกินเนอร์ และหนังสือ 1 เล่ม
3. วงวิชาการไทยที่เพิ่งสร้างในยุคสงครามเย็น : สังคมศาสตร์ไทยและการศึกษาเกี่ยวกับคนจีนในไทย
4. และแล้ว "ชาตินิยมวิชาการ" กับการศึกษาคนจีนในประเทศไทย
5. เมื่อชาตินิยมวิชาการมาบรรจบ : ประวัติศาสตร์ในฐานะเครื่องมือการทูตวิชาการ ในความสัมพันธ์ไทย-จีน กับการเขียนจีนให้เป็นไทย
- เมื่อวัตถุวิจัยพูดกลับ : มองให้พ้นชาติไทยเพื่อศึกษาชาติไทย

รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9789740217527 (ปกอ่อน) 376 หน้า
ขนาด: 142 x 210 x 16 มม.
น้ำหนัก: 420 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์มติชน, สนพ.
เดือนปีที่พิมพ์: 8/2021
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน