0
เขียนชนบทให้เป็นชาติ กำเนิดมานุษยวิทยาไทยในยุคสงครามเย็น
คลี่ปมอาณานิคมความรู้และการเมืองเบื้องหลังชนบทศึกษา
หนังสือ190.00 บาท
e-books(PDF) ?179.00 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    ภายใต้เงาของสหรัฐอเมริกาและบริบทสงครามเย็น "หมู่บ้าน" และ "ชนบท" ในประเทศโลกที่ 3 โดยเฉพาะประเทศไทย เริ่มถูกจัดวางในแผนที่ ถูกจินตนาการ และถูกประดิษฐ์ภาพแทนขึ้นใหม่ ในโครงการปฏิรูปชนบทเพื่อสร้างรัฐประชาชาติและป้องกันคอมมิวนิสต์ หมู่บ้านจึงกลายมาเป็นการจัดประเภทที่ถูกวัดประเมินและผลิตซ้ำได้ เป็นหน่วยที่มีอิสระในตัวเองและมีเอกภาพ ก่อนที่ความตื่นตัวในการศึกษาหมู่บ้านและชนบทเหล่านี้จะนําไปสู่การสถาปนา "ชนบทศึกษา" รวมไปถึงอุตสาหกรรมการวิจัยทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ที่ถูกขับดันไปด้วยวาระทางการเมือง

    เป้าหมายของหนังสือ "เขียนชนบทให้เป็นชาติ กำเนิดมานุษยวิทยาไทยในยุคสงครามเย็น" เล่มนี้ ไม่ใช่การปฏิเสธหรือต้องการผลักไสมรดกทั้งหมดของอาณานิคมหรือจักรวรรดินิยมอเมริกัน แต่มุ่งไปที่การวิพากษ์และเปิดเผยให้เห็นลักษณะของความรู้ทางมานุษยวิทยาของไทยยุคบุกเบิก ที่ไม่อาจแยกขาดจากสงครามเย็น ทั้งในฐานะบริบททางประวัติศาสตร์และในฐานะโลกทัศน์ทางสังคมการเมือง

สารบัญ

01 ปมปัญหาและวิธีวิทยา ว่าด้วยความเป็นจักรวรรดิของความรู้
02 จักรวรรดิอเมริกันกับการสร้างองค์ความรู้ เกี่ยวกับประเทศโลกที่ 3
03 สงครามเย็นศึกษา (Cold War Studies) กับประเทศไทย
04 ไทยศึกษาแบบอเมริกันและการประดิษฐ์ "หมู่บ้านชนบทไทย" ในสหรัฐอเมริกา
05 สถาบันวิจัยและการสนับสนุนการวิจัย ของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย
06 กำเนิดสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา กับหมู่บ้านชนบทศึกษายุคบุกเบิก
07 บทสรุป : มานุษยวิทยาจักรวรรดิและความเป็นสมัยใหม่

ข้อมูลเพิ่มเติม

- เข้าชุดกับหนังสือเล่มก่อนหน้าของ อ. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ ชื่อ "แผนที่สร้างชาติ" (สนพ.อิลลูมิเนชันส์) ซึ่งศึกษาความเปลี่ยนแปลงและการสร้างชาติไทยในยุคสงครามเย็นเช่นกัน
- อ.เก่งกิจ เป็นนักวิชาการด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่มีผลงานต่อเนื่องและมีผู้ติดตามงานเยอะ
- เป็นงานประวัติศาสตร์ความคิดด้านมานุษยวิทยาและเป็นหนึ่งในไม่กี่เล่มที่วิพากษ์มานุษยวิทยาไทยในยุคสงครามเย็นอย่างเจาะลึก

รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9789740216544 (ปกอ่อน) 184 หน้า
ขนาด: 144 x 210 x 10 มม.
น้ำหนัก: 200 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์มติชน, สนพ.
เดือนปีที่พิมพ์: 3/2019
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน