0
เบื้องหลังรูปเคารพ คติความเชื่อรูปแทนบุคคลในสยาม (PDF)
ใช้กระบวนการทางประวัติศาสตร์ศิลปะร่วมกับหลักฐานลายลักษณ์อักษรได้ แสดงหลักฐานและการวิเคราะห์ไว้อย่างน่าสนใจและชัดเจนและยังทำให้เข้าใจว่ารูปเหมือนในสังคมสมัยใหม่มีความคิดและความหมายที่แตกต่างไปจากอดีต
e-books(PDF) ?149.00 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    "เบื้องหลังรูปเคารพ คติความเชื่อรูปแทนบุคคลในสยาม" เล่มนี้ ตีแผ่คติความเชื่อการสร้างรูปเคารพในอดีต โดยในระยะแรกจะอยู่ในรูปแบบพระพุทธรูป "แทนบุคคล" กล่าวคือสร้างพระพุทธรูปเพื่ออุทิศให้กับบุคคล ซึ่งแม้ว่าจะอยู่ในพุทธศาสนา หากแต่แท้จริงแล้วยังเป็นคติความเชื่อของพุทธ-พราหมณ์และผี ที่ทับซ้อนกันอยู่ ต่อมาพัฒนาเป็นรูปเคารพ "เหมือนคน" คือการสร้างรูปเคารพที่เป็นรูปเหมือนคนจริงตามหลักกายวิภาค ตามแนวคิดสมจริงที่เข้ามาแล้วก่อนสมัยรัชกาลที่ 4 หนังสือเล่มนี้จะทำให้ผู้อ่าน "ตาสว่าง" เกี่ยวกับคติความเชื่อการสร้างรูปเคารพในอดีต

สารบัญ

1. หลักฐานเอกสารเกี่ยวกับการระลึกถึงบุคคลก่อนสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
2. รูปแทนบุคคลตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
3. พัฒนาการของแนวคิดเกี่ยวกับรูปแทนบุคคลในศิลปะไทย
4. รูปเหมือนบุคคลหลังสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

คำนิยม
รูปเหมือน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นสื่อระลึกถึงบุคคล เป็น "รูปแทนตัว" ที่ทำให้ผู้พบเห็นนึกถึงเรื่องราวต่างๆ ของบุคคลที่เป็นต้นแบบของรูปนั้น สิ่งนี้นับเป็นแนวความคิดหลักของการสร้างรูปเหมือนก็ว่าได้ แต่หลักฐานจากอดีตที่เก่าแก่ขึ้นไปทำให้ทราบว่ามีพระพุทธรูปหรือเทวรูปที่สร้างขึ้นในฐานะรูปแทนตัวคน โดยเฉพาะบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว แต่มีวิธีการและพิธีกรรมที่รายรอบอันจะทำหน้าที่รูปนั้นๆ กลายเป็นรูปแบบบุคคล และยังช่วยย้ำให้เห็นถึงจริงของคำกล่าวที่ว่า ความเชื่อในพระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ และผี ผสมผสานกันจนกลายเป็นความเชื่อของสังคมไทยผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง- ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 5522840049056 (PDF) 200 หน้า
ชนิดกระดาษ: PDF
สำนักพิมพ์มติชน, สนพ.
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน