ปัญหาว่าพระเณรมีเสรีภาพทางศาสนาจริงหรือไม่? เป็นปัญหาสำคัญพอ ๆ กับปัญหาว่านักการเมือง มีเสรีภาพทางการเมืองหรือไม่? ซึ่งชัดเจนว่าในบ้านเรานักการเมืองไม่ได้มีเสรีภาพอย่างแท้จริง เพราะไม่สามารถอภิปรายประเด็นปัญหาสถาบันกษัตริย์กับประชาธิปไตยในสภาได้อย่างตรงไปตรงมา เพียงแค่นักการเมืองพูดพาดพิงสถาบันกษัตริย์เฉียด ๆ ก็ถูกประท้วง กระทั่งถูกแจ้งความเอาผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และการที่สภาไม่มีเสรีภาพอภิปรายประเด็นสาธารณะได้ "ทุกเรื่อง" จึงเท่ากับไม่มีความเป็นประชาธิปไตย เพราะในระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ต้องมีเสรีภาพในการอภิปรายประเด็นสาธารณะได้ทุกเรื่อง
หนังสือ "เปรียบเทียบการปฏิรูปศาสนาคริสต์-พุทธ และสังคมโลกวิสัย" เล่มนี้ จัดทำขึ้นมาเพื่อจะตอบปัญหาว่า ระบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนา ที่เป็นปัญหาต่อการมีเสรีภาพทางศาสนาและเสรีภาพทางการเมืองดังกล่าว ถูกสถาปนาขึ้นและมีพัฒนาการมาอย่างไร ควรมีแนวทางแก้ปัญหานี้อย่างไร ซึ่งผู้เขียนหวังว่าประเด็นต่าง ๆ ที่วิเคราะห์วิจารณ์และข้อเสนอในหนังสือเล่มนี้ จะถูกนำไปตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์ถกเถียงในวงกว้าง เพื่อร่วมกันหาแนวทางปฏิรูปพุทธศาสนา ที่สามารถจัดวางความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนาให้สังคมไทยมีเสรีภาพทางศาสนาและเสรีภาพทางการเมืองได้จริง
บทนำ ทำไมจึงเปรียบเทียบศาสนาคริสต์-พุทธ
บทที่ 1 การปฏิรูปคริสต์ศาสนาและการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมโลกวิสัย
บทที่ 2 ปรัชญาการเมืองแบบพุทธและรัฐพุทธศาสนา
บทที่ 3 การปฏิรูปพุทธศาสนาในสมัยรัชกาลที่ 4-5 กับคุณค่าของพุทธศาสนาของรัฐและสังคมไทยสมัยใหม่
บทที่ 4 อภิปรายปัญหาและเสนอแนวทางปฏิรูปพุทธศาสนา (ปัญหาของพุทธศาสนาสมบูรณญาสิทธิราชย์)
บทที่ 5 อภิปรายปัญหาและเสนอแนวทางปฏิรูปพุทธศาสนา (ต่อ) (ข้อเสนอการปฏิรูปพุทธศาสนาของฝ่ายอนุรักษนิยมและฝ่ายเสรีนิยม)
บทที่ 6 บทสรุปและข้อเสนอแนะ (สร้างวัฒนธรรมเคารพเสรีภาพที่เท่าเทียมในการรณรงค์ปฏิรูปพุทธศาสนา)
ISBN | : 9786164860506 (ปกอ่อน) 312 หน้า |
ขนาด | : 142 x 210 x 17 มม. |
น้ำหนัก | : 365 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา |
สำนักพิมพ์ | : สยามปริทัศน์, สนพ. |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 7/2021 |