หนังสือเล่มนี้เป็นเล่มที่สำคัญและน่าตื่นเต้น เพราะเป็นเล่มแรกที่เปิดหน้าให้เห็นการเกิดและขยายอำนาจของสถาบันกษัตริย์รัชกาลที่แล้ว (รัชกาลที่ 9) ทั้งในเชิงอุดมการณ์และทรัพย์สินโดยผ่าน "โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" '... ชนิดาใช้เลนส์ทฤษฎีอำนาจนำ (hegemony) ของ อันโตนิโอ กรัมชี่ (Antonio Gramsci) เพื่อจับการใช้อำนาจทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ซึ่งเน้นการครอบงำผ่านการยินยอมมากกว่าการบังคับ รวมถึงผลกระทบของการใช้อำนาจแบบนี้ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้เข้าใจว่า "โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" เป็นเครื่องมือที่ใช้สร้างและเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์ รัฐ และประชาชน
งานศึกษานี้มีจุดเริ่มต้นจากความพยายามที่จะอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมการเมืองไทยร่วมสมัย ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญต่อ "ลักษณะเฉพาะ" ของสังคมไทยที่มีสถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์กลางอย่างลึกซึ้ง การนำ "โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" มาเป็นกรณีศึกษาถึงพระราชอำนาจนำในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะช่วยเปิดพรมแดนองค์ความรู้ต่อการทำความเข้าใจกระบวนการสถาปนาพระราชอำนาจนำในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว... ซึ่งเป็น "ภารกิจ" สำคัญยิ่งต่อการทำความเข้าใจสังคมไทย...
1. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ: การสถาปนาพระราชอำนาจนำ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
2. โครงการพระราชดำริ ยุคก่อกำเนิด (พ.ศ.2494-2500)
3. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ: ยุคการพัฒนาเพื่อความมั่นคง (พ.ศ.2501-2523)
4. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ: ยุคกำเนิดองค์กรประสานงาน (พ.ศ.2524-2530)
5. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ: ยุคกำเนิด "องค์กรเอกชน" (พ.ศ.2531-ปัจจุบัน)
6. เครือข่ายในหลวง การสร้างกลุ่มทางประวัติศาสตร์และปัญญาชนของโครงการพระราชดำริ
7. บทสรุป: การสถาปนาอำนาจนำ อุดมการณ์และปฏิบัติการทางอุดมการณ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ISBN | : 9786165620482 (ปกอ่อน) 616 หน้า |
ขนาด | : 133 x 210 x 37 มม. |
น้ำหนัก | : 600 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา |
สำนักพิมพ์ | : สมมติ, สนพ. |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 2023 |