0
โรงหนัง สายหนัง ความ (ไร้) อำนาจของคนดูและศิลปิน
ธุรกิจการฉายภาพยนตร์ และสังคมไทย พ.ศ. 2440-2561
หนังสือ237.50 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    ธุรกิจการฉายหนังและจัดจำหน่ายหนังจะต้องไม่ถูกมองแยกเดี่ยว ๆ เฉพาะโรงหนัง เฉพาะสายหนัง เฉพาะธุรกิจสตรีมมิ่ง แต่จำเป็นต้องมอง "ทั้งระบบ" ที่มีความสัมพันธ์กับคนดูและผู้ผลิตหนังไทยด้วย จึงจะสามารถต่อยอดความรู้ด้านนี้ได้ว่า "ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ" ด้านธุรกิจฉายหนังมีความสัมพันธ์อย่างไรกับสังคมไทย และที่สำคัญคนดูและรัฐไทยควรตระหนักว่า ระบบธุรกิจฉายหนังและจัดจำหน่ายหนัง มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับการเติบโตทางปัญญาของสัมคมอย่างยิ่ง

    หนังสือ "โรงหนัง สายหนัง ความ (ไร้) อำนาจของคนดูและศิลปิน" เล่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง "ธุรกิจการฉายภาพยนตร์และสังคมไทย พ.ศ. 2440-2561" ซึ่งมีความยาวกว่า 300 หน้า เมื่อนำมาจัดทำเป็นหนังสือจึงได้ตัดทอนเนื้อหาบางส่วนออกไป รวมทั้งปรับปรุงเนื้อหในส่วนการวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ล่าสุด ผู้ที่สนใจอ่านรายงานวิจัยฉบับเต็มโดยเฉพาะการทบทวนวรรณกรรม และแนวคิดทฤษฎี สามารถอ่านได้จากรายงานฉบับสมบูรณ์ในเว็บไซต์ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) หรือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ในปัจจุบัน

สารบัญ

บทที่ 1 ความสำคัญของระบบการฉายภาพยนตร์กับสังคมไทย
บทที่ 2 กรอบการศึกษา และบริบทสำคัญ
บทที่ 3 ธุรกิจฉายหนังในยุคแรก (ทศวรรษ 2440-2490)
บทที่ 4 โรงหนัง
บทที่ 5 สายหนัง
บทที่ 6 หลังทศวรรษ 2550 digital disruption
บทที่ 7 กลุ่มฉายหนังอิสระเกิด โรงหนังทางเลือกไม่มีทางเลือก
บทที่ 8 บทวิเคราะห์ : ธุรกิจการฉายหนังและสังคมไทย
บทที่ 9 สรุปและข้อเสนอแนะ

รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9789749747698 (ปกอ่อน) 272 หน้า
ขนาด: 144 x 210 x 13 มม.
น้ำหนัก: 310 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษปอนด์
สำนักพิมพ์สนับสนุนการวิจัย, สนง. กองทุน
เดือนปีที่พิมพ์: 2020
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน