0
โลกที่คิดว่าคุ้นเคย? : ความคิดทางการเมืองไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1893-2310
หนังสือเล่มนี้ปรับปรุงจากรายงานวิจัยเรื่อง "ความคิดทางการเมืองไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1893-2310" ที่ผู้เขียนเสนอต่อภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หนังสือ427.50 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    หนังสือ "โลกที่คิดว่าคุ้นเคย?" เล่มนี้ ปรับปรุงจากรายงานวิจัยเรื่อง "ความคิดทางการเมืองไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1893-2310" ที่ผู้เขียนเสนอต่อภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยเนื้อหาภายในเล่ม บอกเล่าถึงพื้นฐานของสิ่งที่จะกลายมาเป็นรากฐานทางความคิดทางการเมืองของคนอยุธยา กระทั่งส่งผลมาถึงคนในปัจจุบัน ทั้งเรื่องของฤดูกาลที่เป็นกลจักรสำคัญของการกำหนดแบบแผนวิธีชีวิตและแนวคิดทางการเมืองของคนอยุธยา ผ่านการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศตามฤดูกาลต่าง ๆ และฤดูการเหล่านี้กำหนดในเกิดเป็นแบบแผนและแนวทางในการปฏิบัติของคนในอยุธยา นับตั้งแต่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินลากยาวไปกระทั่งถึงไพร่ราบทหารเลว ล้วนแต่ยึดโยงกับการเปลี่ยนแปลงของฤดูการและสภาพดินฟ้าอากาศแทบทั้งสิ้น

    นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างฤดูกาล พระราชประเพณี ศาสนาผี พราหมณ์ พุทธ ล้วนถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมต่อการสืบทอดอำนาจ รักษาอำนาจและแย่งชิงอำนาจระหว่างชนชั้นปกครองในสมัยอยุธยา (ในปัจจุบันก็ยังคงเห็นวิธีการของครั้งอยุธยาด้วย) ผ่านการสร้างความชอบธรรมผ่านมิติของราชาธิปไตยสมัยอยุธยาที่อาศัยมิติของอำนาจ-วาสนา, บุญญา-บารมี และ ร่มเย็น-เป็นสุข ที่แนวคิดของทั้ง 3 มิติถูกคลี่ตีแผ่ให้เห็นผ่านระบบคิดของฤดูการ ประเพณีและศาสนา ที่ตลอดช่วงระยะเวลา 417 ปีของอยุธยา สิ่งเหล่านี้คือกลไกในการธำรงไว้ซึ่งระบบและวิธีคิดทางการเมืองของอยุธยา

สารบัญ

ภาคที่ 1 ทั่วไป
- บทที่ 1 บทนำ
- บทที่ 2 ระเบียบวิธีวิจัย

ภาคที่ 2 บริบท
- บทที่ 3 สังเขปประวัติศาสตร์การเมืองอยุธยา
- บทที่ 4 จักรวาลไตรภูมิ
- บทที่ 5 สังคมน้ำท่วม : บริบททางภูมิศาสตร์ของอยุธยา
- บทที่ 6 บริบททางภูมิปัญญาเกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง

ภาคที่ 3 ตัวบท
- บทที่ 7 โองการแช่งน้ำ
- บทที่ 8 บทเรียนทางการเมืองจาก "ลิลิตพระลอ"
- บทที่ 9 โลกการเมืองในยวนพ่ายโคลงดั้น
ฯลฯ

ภาคที่ 4 สรุป
- บทที่ 14 บทสรุป : พระรามในปราสาทพระอินทร์

รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9786162784750 (ปกอ่อน) 472 หน้า
ขนาด: 165 x 242 x 22 มม.
น้ำหนัก: 700 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน