ท่ามกลางวิกฤตการเมืองไทยที่ดำเนินมายาวนานเกือบหนึ่งทศวรรษนับตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ถามว่าทำไมเรายังต้องอ่านเรื่องราว 6 ตุลา 2519 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมานานเกือบสี่ทศวรรษแล้ว ทำไมลืม 6 ตุลาไม่ได้ในสถานการณ์แบบนี้??
หนังสือรวมบทความ "6 ตุลา ลืมไม่ได้ จำไม่ลง" เล่มนี้ เรียบเรียงขึ้นเพื่อหวังมีส่วนช่วยในการขยับเพดานการพูดถึงสิ่งที่พูดไม่ได้ แต่จำเป็นต้องพูดถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะเปลี่ยน?(ไม่)?ผ่าน ที่กำลังเป็นอยู่นี้ เพื่อว่า 6 ตุลาจะได้เป็นบทเรียนสำคัญ เป็นเครื่องชี้ทิศทางให้กับสังคมไทยที่จะเปิดกว้างต่อการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างสุดขั้ว การจัดการความขัดแย้งโดยหลีกเลี่ยงการยั่วยุให้ใช้ความรุนแรงเข้าทำร้ายทำลายกัน เป็นสังคมที่นิยมการแสวงหาความจริง และที่สำคัญคือ เป็นสังคมที่ยึดหลักความยุติธรรมเสมอหน้า ที่จะไม่ปล่อยให้ผู้กระทำผิดและรัฐอาชญากร ไม่ว่าจะอยู่ใน "ชั้น" ไหนของสังคมลอยนวลไม่ต้องรับโทษ
ภาค 1
บทที่ 1 ความทรงจำ/ความเงียบงันของประวัติศาสตร์บาดแผล:ความทรงจำอิหลักอิเหลื่อเรื่องการสังหารหมู่ 6 ตุลาคม 2519
บทที่ 2 "เราไม่ลืม 6 ตุลา" : การจัดงานรำลึกการสังหารหมู่ 6 ตุลา ในปี 2539
บทที่ 3 ตามหาลูก?: จดจำและหวังด้วยความเงียบ
บทที่ 4 การทำร้ายศพเมื่อ 6 ตุลา?: ใคร อย่างไร ทำไม
ภาค 2
บทที่ 5 6 ตุลาในความทรงจำของฝ่ายขวา 2519-2549 : จากชัยชนะสู่ความเงียบ (แต่ยังชนะอยู่ดี)
บทคัดย่อ
ออกโรง ออกตัว และขอบคุณ
1. ศึกษาอะไรและอย่างไร ?
2. 6 ตุลาคือชัยชนะที่น่ายินดี
3. วาทกรรม 6 ตุลาที่เปลี่ยนไประหว่าง 2520-2539
ฯลฯ
ISBN | : 9786167667843 (ปกอ่อน) 344 หน้า |
ขนาด | : 166 x 240 x 20 มม. |
น้ำหนัก | : 535 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา |
สำนักพิมพ์ | : ฟ้าเดียวกัน, สนพ. |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 2020 |