เราเคยตั้งคำถามกันหรือไม่ว่า ผืนป่าที่ถูกทำลาย สัตว์ป่าที่สูญพันธุ์ มลพิษที่ลอยอยู่ในอากาศ หรือปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ในไทยเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และทำไมเรื่องราวของการทำลายสิ่งแวดล้อม จึงไม่ค่อยถูกบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ทั้งที่ผลกระทบจากการทำลายมีมาอย่างยาวนาน...
"The Lost Forest : ประวัติศาสตร์ (การทำลาย) สิ่งแวดล้อมไทย และสงครามแย่งชิงทรัพยากร" เล่มนี้ เป็นผลงานของ "วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์" อดีตบรรณาธิการบริหารนิตยสารสารคดี เจ้าของผลงาน "เมื่อความจนเฆี่ยนตีผม" นำเสนอเรื่องราวการทำลายสิ่งแวดล้อมในไทยนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการบุกรุกทำลายป่า การสูญพันธุ์ของสัตว์ป่า การต่อสู้ของชาวบ้านกับรัฐและนายทุน อุตสาหกรรมที่กระทบลมหายใจของผู้คน ไปจนถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมยุคใหม่อย่างการก้าวเข้าสู่ยุคโลกเดือด ฝุ่นพิษ PM 2.5 และการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่กำลังจะมาถึง
หากต้องการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า บางคราเราจำเป็นต้องกลืนยาขม ต้องเรียนรู้จากความผิดพลาดและความเลวร้ายในอดีต หากอยากมีสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าปัจจุบัน การอ่านหนังสือเล่มนี้ อาจเป็นขั้นตอนสำคัญที่เราต้องศึกษาจริงจังเพื่อทำความเข้าใจ
รุ่งอรุณแห่งการทำลายธรรมชาติ
1 ธรรมชาติในอดีตกับความหลากหลายทางชีวภาพ
2 สนธิสัญญาเบาว์ริง สัมปทานป่า จุดเริ่มทำลายป่า
3 ถนน เขื่อน แผนสภาพัฒน์ ปฏิวัติเขียว และความเหลื่อมล้ำ
ฯลฯ
สงครามแย่งชิงทรัพยากร
6 ล่าสัตว์ป่าทุ่งใหญ่ จุดจบของเผด็จการ
7 จากเขื่อนเชี่ยวหลานถึงเขื่อนน้ำโจน การล่มสลายทางระบบนิเวศ
8 เขื่อนปากมูล สงครามแย่งชิง ทรัพยากรของคนท้องถิ่น
9 ปลาบึก แม่น้ำโขง กับการแย่งชิงน้ำระหว่างประเทศ
อุตสาหกรรม มลพิษ และความตายลึกลับ
10 ยุคอุตสาหกรรมรุ่งเรืองและหายนะทางสิ่งแวดล้อม
11 "มาบตาพุด" จุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมไทย
12 เผาแทนทาลัม ความตายที่คลิตี้กับคดีเหมืองทองคำ
13 ค่าโง่คลองด่านกับคดีคอร์รัปชั่นครั้งประวัติศาสตร์
การทำลายสิ่งแวดล้อมยุคใหม่
14 โลกร้อน โลกเดือด และซูเปอร์เอลนีโญ
15 PM 2.5 มลพิษทางอากาศขั้นสูงสุด
16 ขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก การสูญพันธุ์ใหญ่ ครั้งที่ 6 และแอนโทรโปซีน (Anthropocene)
บทส่งท้าย
ISBN | : 9789740218814 (ปกอ่อน) 456 หน้า |
ขนาด | : 145 x 210 x 20 มม. |
น้ำหนัก | : 520 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา |
สำนักพิมพ์ | : มติชน, สนพ. |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 2024 |