ขณะที่การเมืองการเลือกตั้งของไทยก้าวถอยหลังและชะงักงันเพราะการครองอำนาจของเผด็จการ การเมืองการเลือกตั้งในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ สามประเทศที่น่าจับตามองที่สุดในอุษาคเนย์ กลับเปลี่ยนแปลงอย่างสูงในเงื่อนไขที่ต่างกัน ราวกับจะยืนยันให้เห็นความเป็นไปได้ และคลื่นของความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่ทำให้การเลือกตั้งมิได้หยุดนิ่งและถูกผูกขาดโดยชนชั้นนำกลุ่มเดิมจำนวนน้อยอีกต่อไป
ร่วมวงสนทนากับแนวทางการศึกษาแบบสถาบันนิยม ทฤษฎีการสร้างประชาธิปไตย การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย ตามเข้าไปสำรวจความเป็นจริงในพื้นที่ ฟังข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ยื่นหน้าไปดูตัวเลขสถิติ และกลับเข้าสู่การถกเถียงถึงโอกาส ความหวัง ความฝัน และความจริงจากการศึกษา เปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการเลือกตั้งในประเทศเพื่อนบ้าน ย้อนกลับมาเปรียบเทียบและทบทวนสถาณการณ์การเมืองการเลือกตั้งของไทย ประเทศซึ่งตั้งไข่และล้มลุกคลุกคลานมากว่า 88 ปี ในการสร้างกระบวนการเลือกตั้งที่มีคุณภาพและประชาธิปไตยที่ยั่งยืน
1. สัญญาณแห่งความเปลี่ยนแปลง : การเลือกตั้งและประชาธิปไตยในมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
2. มาเลเซีย : การเมืองชาติพันธุ์และศาสนาแนวร่วมภาคประชาสังคมกับฝ่ายค้านและการสิ้นสุดของระบบพรรคเดียวครอบงำ
3. อินโดนีเซีย : การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย ระบบหลายพรรคที่มีเสถียรภาพและฉันทามติการเมือง
4. ฟิลิปปินส์ : ประชาธิปไตยแบบอุปถัมภ์ ตะกูลการเมืองและประชานิยมแบบอำนาจนิยม
5. ไทย : การแบ่งขั้วรุนแรง การต่อต้าน-ตัดตอน การเลือกตั้ง และประชาธิปไตยถดถอย
6. แลไปข้างหน้า : ก้าวใหม่ของประชาธิปไตยในอาเซียน
ISBN | : 9789740217091 (ปกอ่อน) 336 หน้า |
ขนาด | : 143 x 210 x 17 มม. |
น้ำหนัก | : 430 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา |
สำนักพิมพ์ | : มติชน, สนพ. |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 6/2020 |