0
วัด-วัง ในพระราชประสงค์พระจอมเกล้าฯ
ศิลปกรรมแห่งแผ่นดิน แฝงด้วยนัยยะการเมืองการปกครอง
หนังสือ418.00 บาท
e-books(PDF) ?349.00 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    เมื่อกล่าวถึงวิทยาการที่ก้าวหน้าในด้านการศึกษา ศิลปะ สังคม คงหนีไม่พ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 หากแต่แท้จริงแล้ว จุดเริ่มต้นในการรับวัฒนธรรมตะวันตกคือสมัยรัชกาลที่ 4 ที่พระองค์ทรงพยายามปรับเปลี่ยนแนวคิดการบริหารบ้านเมืองหลายประการ หนึ่งในนั้นรวมไปถึงศาสนาและศิลปกรรม ที่แอบอิงอยู่กับการเมืองการปกครองอย่างเลี่ยงไม่ได้ การตั้งคณะธรรมยุตินิกาย การสร้างสรรค์แนวคิดศิลปกรรมใหม่ๆ ผสมผสานระหว่างตะวันตกและไทย ประเพณีทำให้ก่อเกิดงานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน แต่งานช่างดังกล่าวมิได้สรรสร้างเพื่อความงามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่มีนัยแฝงในด้านการเมืองการปกครองที่พระองค์ทรงสร้างรากฐานเพื่อหลีกเลี่ยงชาติตะวันตก และชำระพระศาสนาให้เป็นวิถีที่บริสุทธิ์ วัด-วัง ที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ จึงเป็นศิลปกรรมที่สะท้อนถึง พระราชประสงค์และพระราชกุศโลบายอย่างแท้จริง

สารบัญ

1. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับบริบททางสังคมในรัชสมัย
2. พระอารามในพระพุทธศาสนา
3. เจดีย์ทรงระฆัง : เจดีย์แบบพระราชนิยม
4. พระพุทธรูปในพระราชประสงค์
5. จิตรกรรมฝาผนังในพระราชประสงค์
6. ศิลปกรรมเนื่องในสถาบันพระมหากษัตริย์

คำนิยม
ผลงานการค้นคว้าเล่มนี้จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษางานศิลปกรรม สมัยรัตนโกสินทร์ ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของงานช่าง ประวัติศาสตร์ และศาสนาศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์- นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี พ.ศ.2556
รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9789740215882 (ปกอ่อน) 416 หน้า
ขนาด: 162 x 241 x 18 มม.
น้ำหนัก: 685 กรัม
เนื้อในพิมพ์: คละสี
ชนิดกระดาษ: กระดาษปรู๊ฟ
สำนักพิมพ์มติชน, สนพ.
เดือนปีที่พิมพ์: 12/2017
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน